วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การจัดการสารสนเทศ


* ข้อมูล(data)หมายถึงอะไร
  ข้อมูล (Data)   หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ 
 ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะ
 ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ
 ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น

  ที่มา  http://blog.eduzones.com/jipatar/85845

* สารสนเทศ(infromation)หมายถึงอะไร
   สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 
      เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ
 *  การประมวลผล(processing)หมายถึงอะไร
   การประมวลผล หมายถึงกระบวนการคิด หรือ การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ เคลื่อนย้ายข้อมูล การเปรียบเทียบ และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยอาจใช้สูตร ทางคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ วิธีการต่าง ๆเหล่านี้ ทำได้โดย อาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น
    ที่มา  http://th.wikipedia.org//
 *  ข้อมูลมีกี่ประเภทอะไรบ้าง จงอธิบาย
   2 ประเภท  คือ
   1.ข้อมูลปฐมภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม หรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ตลอดจน การจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติต่างๆ ที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลให้ เช่นเครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก ข้อมูลปฐมภูมิ จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูลนั้นๆลๆ
    ที่มา  http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/prajuab/tanyalak_k/2/c2_5_1.htm
   2.ข้อมูลทุติยภูมิ   ข้อมูลทุติยภูมิ หมายถึงข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจจะมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้องไปสำรวจเอง ตัวอย่างจากข้อมูลสถิติต่างๆ ที่หน่วยงานรัฐบาลทำไว้แล้ว เช่น สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการส่งสินค้าออก สถิติการนำสินค้าเข้า ข้อมูลเหล่านี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้ใช้งานได้ หรือนำเอาไปประมวลผลต่อ
   ที่มา  http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=54c6a53ac2cd8890

*  วิธีการประมวลข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์มีกี่วิธี อะไรบ้าง จงอธิบาย
   2 วิธี  คือ 
   1.การประมวลผลแบบเชื่อมตรง  หมายถึง การประมวลผลที่ทำโดยอุปกรณ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของตัวเครื่อง (เช่นเครื่องอ่านบัตร) หรืออุปกรณ์นั้นจะอยู่ห่างออกไปแต่สามารถติดต่อโดยตรงกับเครื่องได้ เช่น การประมวลผลโดยมีการสื่อสารระหว่างเครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัล (terminal) และหน่วยประมวลผลกลางโดยทางโทรศัพท์ หรือวิธีอื่น ๆ การทำเช่นนี้เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูล ซึ่งจะเข้าสู่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา เช่น ที่ใช้ในการส่งยานอากาศไปนอกโลก การถอนเงินในระบบเงินด่วน เป็นต้น ดู batch processing เปรียบเทียบ
    ที่มา  http://guru.sanook.com/dictionary/dict_comp
   2.  การประมวลผลแบบกลุ่ม  จะเป็นวิธีการประมวลผลที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละช่วงเวลาไว้ จนกว่าจะมีข้อมูลที่ประมวลผลจำนวนหนึ่ง จึงทำการประมวลผลพร้อมกัน หรืออาจรอจนกว่าครบตามเวลาที่กำหนด จึงทำการประมวลผลไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าใดก็ตาม เช่น เวลาเข้าออกของพนักงานอาจจะพิมพ์เก็บไว้ทุกสัปดาห์ และนำมาประมวลผลเดือนละครั้งเท่านั้น เป็นต้น
    ที่มา  http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20vol29.htm

 *  สารสนเทศที่ดีมีลักษณะอย่างไร 
   1. มีความถูกต้อง แม่นยำ
     2. ทันต่อการใช้งาน (ทันสมัยอยู่เสมอ)
     3. ความสมบูรณ์ในตัวเอง
     4. มีความกะทัดรัก ชัดเจน
     5. ตรงกับความต้องการ
  *  ขั้นตอนของการจัดการสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
   การเก็บรวบรวมข้อมูล
สมมตินักเรียนต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาชีพของคนในหมู่บ้านนักเรียนอาจเริ่มต้นด้วยการออกแบบสอบถามสำหรับ การไปสำรวจข้อมูลเพื่อให้ครอบครัวต่างๆในหมู่บ้านกรอกข้อมูลมีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้กรอกข้อมูลเพื่อทำการกรอกรายละเอียด มีการเก็บรวมรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่างเช่นการใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตรวจจากรหัสแท่งหรืออ่าน ข้อมูลที่ใช้ดินสอระบายตำแหน่ง ที่กรอกข้อมูล
    การตรวจสอบข้อมูล
เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และมีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
ข้อมูลที่จัดเก็บต้องถูกต้องและเชื่อถือได้เพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย
        ที่มา     [
http://st.mengrai.ac.th/users/paisan/e-learning/information/content/info6.htm
    การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้มข้อมูลนั้น เป็นขั้นที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง การไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าในเรื่องอะไรส่วนใหญ่
จะรวบรวมข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการ
ในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
      ที่มา [
http://st.mengrai.ac.th/users/paisan/e-learning/information/content/info6.htm
    การจัดเรียงข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง
การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง
      ที่มา[
http://st.mengrai.ac.th/users/paisan/e-learning/information/content/info6.htm ]
    การคำนวณ
ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นอักษร ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณจำนวนที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม
[http://st.mengrai.ac.th/users/paisan/e-learning/information/content/info6.htm]

การทำรายงาน
การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น เพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ
[http://st.mengrai.ac.th/users/paisan/e-learning/information/content/info6.htm
  การจัดเก็บ
ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้
เพื่อใช้ในภายหลัง การจัดเก็บสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่  สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เช่น แผ่นบันทึกหรือซีดีรอม
[
http://st.mengrai.ac.th/users/paisan/e-learning/information/content/info6.htm
  การทำสำเนา
หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
[http://st.mengrai.ac.th/users/paisan/e-learning/information/content/info6.htm]
   การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล
เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่ายเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้การเผยแพร่ทำได้ กว้างขวางมากขึ้น ขั้นตอนเหล่านี้เป็นขั้นตอนให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ บางขั้นตอนเป็นการเก็บและตรวจสอบข้อมูลบางขั้นตอนเป็นการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศและบางขั้นตอนเป็นวิธีการจัดเก็บ สารสนเทศเพื่อประโยชน์ของการใช้งานในภายหลัง
[http://st.mengrai.ac.th/users/paisan/e-learning/information/content/info6.htm]

* ระบบสารสนเทศ(Informatios Syst :IS) หมายถึงอะไร
   
หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมุลนั้นกลายเป็น
สารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง
    ที่มา  http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pichai_l/it01/itsystem.htm


* องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ5องศ์ประกอบได้แก่อะไรบ้าง
   มีอยุ๋5ส่วน
    1ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
    • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
    • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )                                                                                   ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
  • การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อ. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)   
    คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
    • หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
    • หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
    • หน่วยความจำหลัก
    • หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
    • หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
      หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์ หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก                                                                                                                                                              2.ซอฟต์แวร์ (Software) คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมาซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ 3. บุคลากร (Peopleware) เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไปบุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ มูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
  • การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
  • การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
  • การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
  • การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
  • 4. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information) ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ
  • 5.กระบวนการทำงาน (Procedure) กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้                                             
    1. สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
    2. เลือกรายการ
    3. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
    4. รับเงิน
    5. รับใบบันทึกรายการ และบัตร
    การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น
        ที่มา      http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20intro2.htm

        *สารสนเทศมีกี่ระดับ อะไรบ้าง จงอธิบาย
                เป็นขั้นตอนการประเมินผลการใช้งานระบบใหม่ โดยนำไปเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์และการ
      สำรวจ ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด แล้วทำการปรับระบบหรือเปลี่ยนระบบให้เหมาะสม
       
7 ขั้นตอน
          .1. ขั้นการสำรวจ (Survey)
     เป็นงานขั้นแรกที่กระทำ โดยนักวิเคราะห์จะสอบถามผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้ใช้งาน MIS ถึงความต้อง
     การต่างๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้เสนอแนะวิธีที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหา บางครั้งเรียกว่า การ
     ศึกษาความเป็นไปได้ "Feasibility Study"
            2. การวิเคราะห์โครงสร้าง (Structured Analysis)
     เป็นขั้นตอนที่นำผลการศึกษาถึงความเป็นไปได้ รวมทั้งการสอบถามเพิ่มเติมจากผู้ใช้  MIS 
     เพื่อนำมาประเมินเกี่ยวกับงบประมาณและระยะเวลาในการออกแบบและใช้งาน MIS เอกสาร
     จากการวิเคราะห์โครงสร้างมักอยู่ในรูปของกราฟ หรือ รูปภาพแสดงขั้นตอนต่างๆ
             3. การออกแบบโครงสร้าง (Structured Design)
     เป็นการพิจารณาจำนวนโปรแกรมที่จะใช้ภายในระบบ แต่ละโปรแกรมจะทำงานเป็นอิสระอยู่ใน
     ลักษณะโมดูลโปรแกรม (Program Module)
              4. การศึกษาถึงฮาร์ดแวร์ (Hardware Study)
     การศึกษาถึงฮาร์ดแวร์ที่จะใช้ในระบบ MIS เป็นงานสองขั้นตอนที่สามารถดำเนินไปพร้อมๆ กัน
              5. ขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Implementation)
     เป็นขั้นตอนที่เปลี่ยนการทำงานจากระบบเดิมไปสู่ระบบใหม่ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ซึ่งมี
     ผู้บริหารงานจะต้องวิเคราะห์ความเหมาะสมว่าจะเปลี่ยนแปลงโดยวิธีใด
               6. ขั้นเปลี่ยนไปใช้คอมพิวเตอร์ (Conversion)
     เมื่อผ่านขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว นำข้อมูลหรือโปรแกรม
     ต่างๆ ลงเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งจะนำไปใช้งานต่อไป
                7. การศึกษาปัญหาหลังการใช้ MIS และการบำรุงรักษา (Post Implementation and
     Maintenance)